นศ.วิศวลาดกระบัง ภาคฤดูร้อน เข้าเฝ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ

2นักศึกษา #วิศวลาดกระบัง
โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน เข้าเฝ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Program) ณ สมาพันธรัฐสวิส 2. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 3. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนจีเอสไอ (GSI/FAIR Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 4. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนไอซ์คิวบ์ (Icecube Summer Student Program) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันวิจัยระดับโลก 4 แห่งเปิดโอกาสให้ประเทศไทยคัดเลือกนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมค่ายภาคฤดูร้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง และวิศวกรรมซอฟต์แวร์  1. นายสิทธิพล คำดา 👍ภาควิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. 🎖ในโอกาสได้รับคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทย ร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น 🎖โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น ประจำปี พ.ศ. 2568 ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างเดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน 2568 โครงการ CERN Summer Student Programme และ CERN – The International Hight School Teacher Programme (HST) & CERN – The International Teacher Weeks Programme (ITW) ณ เซิร์น สมาพันธรัฐสวิส 
2. นายธรรมรัตน์ ยาวิศิษฏ์ 👍นักศึกษาชั้นปีที่ 3 👍สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน ภาควิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. 🎖ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนของหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube Neutrino Observatory) ณ Wisconsin IceCube Particle Astrophysics Center (WIPAC) มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา โดยนับเป็นนักศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ “คนแรกของประเทศไทย” ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ อีกด้วย นายธรรมรัตน์ เป็น 1 ในนักศึกษา 2 คนแรกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการเหล่านี้เป็นโครงการวิจัยระดับนานาชาติที่มีความร่วมมือจากหลากหลายประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการและการมีส่วนรวมในการวิจัยของประเทศไทยในเวทีโลก
👍รายละเอียดจากข่าวพระราชสำนัก วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะกรรมการมูลนิธิ ฯ คณะกรรมการผู้บริหาร และผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบัน เซิร์น เดซี จีเอสไอ ไอซ์คิวบ์ และอีเทอร์ ประจำปี 2568 เข้าเฝ้าทูลอองพระบาท ขอรับพระราชทานพร และกราบถวายบังคมลา ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการ สืบเนื่องจาก องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) สมาพันธรัฐสวิส | สถาบันวิจัยเดซี และ สถาบันวิจัยไอออนหนักจีเอสไอ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี | ศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันสหรัฐอเมริกา | และองค์การพลังงานฟิวชันนานาชาติอีเทอร์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุนเพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษา ครูสอนฟิสิกส์ นิสิต /นักศึกษา / นักวิจัยในสาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ของไทย ได้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อน ณ สถาบันดังกล่าว โดยมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการในแต่ละปีในเบื้องต้น และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชวินิจฉัยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการในขั้นตอนสุดท้าย สำหรับปี 2568 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชวินิจฉัยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการของเซิร์น เดซี จีเอสไอ ไอซ์คิวบ์ และอีเทอร์ ประกอบด้วย (1) นักเรียน-ครูระดับมัธยมไปศึกษาดูงานที่เซิร์น จำนวน 18 คน (2) นักศึกษาภาคฤดูร้อนขององค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) ณ สมาพันธรัฐสวิส จำนวน 4 คน (3) ครูฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น จำนวน 2 คน (4) นักศึกษาภาคฤดูร้อนของสถาบันเดซี จำนวน 4 คน(5) นักศึกษาภาคฤดูร้อนของสถาบันวิจัยไอออนหนักจีเอสไอ จำนวน 2 คน (6) นักศึกษาภาคฤดูร้อนของหอสังเกตการณ์นิวทริโนไอซ์คิวบ์ จำนวน 2 คน และ (7) นักศึกษาและนักวิจัยภาคฤดูร้อนขององค์การพลังงานฟิวชันนานาชาติอีเทอร์ จำนวน 4 คน (8) นักวิจัยโครงการความร่วมมือไอซ์คิวบ์ด้านพัฒนากำลังคนวิจัยที่จะเดินทางร่วมกับนักศึกษา จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 39 คน เข้าเฝ้าทูลอองพระบาท ขอรับพระราชทานพร และกราบถวายบังคมลา ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย นิสิต/นักศึกษา นักวิจัย จาก 5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ครูและนักเรียน จาก 22 สถาบัน ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนกำเนิดวิทย์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โรงเรียนทวีธาภิเษก โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-ประสานมิตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 38 คน