หลักสูตรปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.
▪︎ วิศวกรรมไฟฟ้า
▪︎ เป็นหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าเฉพาะด้านไฟฟ้ากำลัง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการเรียนการสอนด้านไฟฟ้ากำลังตั้งแต่ระดับปริญาตรีถึงปริญญาเอก เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จากสภาวิศวกรได้ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าที่ สจล. มีแผนการเรียน 2 แผนการเรียนตามความสนใจโดยทั้งสองแผนการเรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังร่วมกัน และจะแยกแผนการเรียนเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ได้แก่ 1. แผนการเรียนด้านไฟฟ้ากำลัง 2. แผนการเรียนด้านพลังงาน ซึ่งเน้นไปที่แหล่งพลังงานหมุนเวียน การผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรไฟฟ้า
▪︎ วิศวกรโรงงาน
▪︎ ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
▪︎ วิศวกรที่ปรึกษา
▪︎ วิศวกรโครงการ
▪︎ วิศวกรออกแบบ
▪︎ ผู้รับเหมางานระบบ
▪︎ ธุรกิจส่วนตัว
▪︎ รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565)
▪︎ วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย
▪︎ ปัจจุบัน เทคโนโลยีสื่อสารเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภาครัฐและภาคธุรกิจ โดยจะเห็นได้จากเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ที่ทั่วโลกกำลังพัฒนาอย่างเร่งด่วน และเทคโนโลยีสื่อสารในอวกาศที่บริษัทชั้นนำของโลกกำลังแข่งขันอย่างดุเดือด
▪︎ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย สจล. มุ่งเน้นถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสื่อสารในทุกมิติ เช่น เทคโนโลยีสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีสื่อสารผ่านดาวเทียม เทคโนโลยีสื่อสารระหว่างเครื่องจักร ระบบคลาวด์ อุปกรณ์ IoT และอื่นๆ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรโทรคมนาคม
▪︎ วิศวกรสื่อสาร
▪︎ วิศวกรเน็ตเวิร์ค
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เช่น
▪︎ บริษัทที่พัฒนาอุปกรณ์โทรคมนาคมและเน็ตเวิร์ค เช่น Huawei Cisco Ericsson Nokia เป็นต้น
▪︎ หน่วยงานรัฐที่ให้บริการโครงข่ายสื่อสาร เช่น NT เป็นต้น
▪︎ บริษัทที่ให้บริการโครงข่ายสื่อสาร เช่น AIS DTAC True เป็นต้น
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย (ปรับปรุง พ.ศ. 2566)
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วิศวกรรมโทรคมนาคมและโครงข่าย (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)
▪︎ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
▪︎ หลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เน้นการเรียนการสอนเฉพาะทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์องค์รวมทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์, ระบบและวงจรรวมอนาล็อกและดิจิตอล
▪︎ เน้นการศึกษาภาคปฏิบัติและโปรเจคโดยนักศึกษาจะเริ่มทำโปรเจคทุกเทอมตั้งแต่ปี 2, โปรเจคปี 3 และโปรเจคปริญญานิพนธ์ในปี 4
▪︎ มีแผนการศึกษาสหกิจศึกษาที่ให้นักศึกษาได้ทำโปรเจคร่วมกับบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีเป็นเวลา 1 เทอม
▪︎ มีวิชาเลือกเฉพาะทางที่หลากหลายโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ เทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำและเซนเซอร์อัจฉริยะ, วงจรรวมสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และยานยนต์สมัยใหม่, ระบบดิจิตอลและการประมวลผลสัญญาณขึ้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรออกแบบวงจรรวม
▪︎ วิศวกรระบบฝังตัวและไอโอที
▪︎ วิศวกรซอฟแวร์,หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
▪︎ นักวิจัยเซ็นเซอร์อัจฉริยะ
▪︎ วิศวกรออกแบบเครื่องมือทางด้านการแพทย์
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วิ ศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)
▪︎ วิศวกรรมเครื่องกล
▪︎ วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical engineering) เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด
▪︎ การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนาม เพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ เครื่องจักร ระบบทางกล ระบบทางความร้อน ระบบปรับอากาศ ระบบอาคาร ฯลฯ
โดยมีลักษณะงานดังนี้
▪︎ งานควบคุมการสร้าง การติดตั้ง
▪︎ งานซ่อมบำรุง และการวางแผนซ่อมบ ารุง
▪︎ งานตรวจสอบระบบทางกล และทางความร้อน
▪︎ งานวิเคราะห์โครงการ งานวางโครงการ
▪︎ งานที่ปรึกษา งานออกแบบ
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วิศวกรรม เครื่องกล (ปรับปรุง พ.ศ. 2565)
▪︎ วิศวกรรมโยธา
▪︎ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านอุปกรณ์การเรียน การสอน การวิจัย ทําให้บัณฑิตที่จบการศึกษา เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี ภาควิชาได้ดําเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในด้านวิศวกรรมโยธาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถผลิตวิศวกรโยธาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้าง การบริหาร สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และออกแบบคํานวณ การพัฒนาด้านวัสดุ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย
▪︎ วิศวกรรมชลศาสตร์ การสํารวจ
▪︎ การบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมการขนส่งและจราจร
▪︎ วิศวกรรมแหล่งนํ้า วิศวกรรมโครงสร้าง
▪︎ คอนกรีตเสริมเหล็ก ไม้และเหล็ก
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรโครงสร้าง
▪︎ วิศกรปฐพี วิศวกรแหล่งนํ้า
▪︎ วิศวกรสํานักงาน
▪︎ วิศวกรควบคุมงานหน้าสนาม
▪︎ วิศวกรสํารวจ
▪︎ วิศวกรออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง
▪︎ นักประมาณราคา
▪︎ ผู้ตรวจสอบอาคาร
▪︎ นักวิเคราะห์ความคุ้มทุนในงานก่อสร้าง
▪︎ ผู้จัดการโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมโยธา (ปรับปรุง พ.ศ. 2565)
▪︎ วิศวกรรมอุตสาหการ
▪︎ การเรียนการสอนมุ่งเน้นไปที่การผสมผสานองค์ความรู้ด้านระบบการผลิต การออกแบบ พัฒนา วางแผน และด้านระบบการจัดการทางอุตสาหกรรม ด้วยความพร้อมของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้นักศึกษาสามารถได้ฝึกฝนและลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างแท้จริง
▪︎ วิศวกรอุตสาหการ เป็นวิศวกรที่รอบรู้หลายด้านเพื่อประสานงานให้การทำงานก่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการทำงานที่สูงที่สุด โดยสำหรับวิศวกรรมอุตสาหการลาดกระบังเราจะเน้นถึง พื้นฐานวิศวกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ ทั้งด้านการผลิต วัสดุวิศวกรรม ระบบการผลิตอัตโนมัติ เพื่อให้นักศึกษาพร้อมนำสิ่งที่เรียนสามารถไปประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการทั้งรูปแบบการบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ งานภาคอุตสาหกรรมการผลิต
▪︎ อุตสาหกรรมบริการ
▪︎ ผู้ประกอบการด้วยตัวเอง
▪︎ วิศวกรควบคุมการผลิต
▪︎ วิศวกรอุตสาหการ
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมอุตสาหการ (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)
▪︎ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
▪︎ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชั่น เป็นการบูรณาการความรู้ในหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้าวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมระบบควบคุม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถทั้งทางด้านทักษะและปัญญาในด้านวิศวกรรมการวัดและควบคุมทางอุตสาหกรรม วิศวกรรมระบบควบคุมอัตโนมัติ และ ระบบอัจฉริยะปัญญาประดิษฐ์ หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 แขนงวิชา คือ
1) การวัดและควบคุม
2) แมคคาทรอนิกส์
3) ออโตเมชั่น
โอกาสในการหางาน
▪︎ วิศวกรและเจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรม▪︎ปิโตรเคมี น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเคมี ปูน และเซรามิค งานด้าน
▪︎ อาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมโลหะและยานยนต์ โรงงานผลิตกระดาษแก้วและกระจก และโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ
▪︎ นักวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
▪︎ วิศวกรรมหุ่นยนต์
▪︎ วิศวกรรมระบบควบคุม
▪︎ วิศวกรรมระบบอัตโนมัติ และวิศวกรรมการวัดคุม และทดสอบ
▪︎ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
▪︎ หลักสูตรเล็งเห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์และทฤษฎีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ จึงได้จัดให้เรียนรายวิชาในกลุ่มนี้อย่างเพียงพอ ได้แก่ การเขียนโปรแกรม โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม การพัฒนาซอฟต์แวร์ สถิติและความน่าจะเป็น พีชคณิตเชิงเส้น โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง (Discrete Structure) ทฤษฎีการคำนวณ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการคิดเชิงคอมพิวเตอร์ และการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง เช่น Data Science ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรืออื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้นหลักสูตรยังได้จัดให้เรียนทฤษฎีด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ พื้นฐานระบบดิจิตอล องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถปฏิบัติงานในสายงานต่างๆ ได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรคอมพิวเตอร์
▪︎ นักวิชาการคอมพิวเตอร์
▪︎ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์/วิศวกรซอฟต์แวร์
▪︎ วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ
▪︎ วิศวกรเครือข่าย
▪︎ วิศวกรระบบฝังตัว
▪︎ วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์
▪︎ วิศวกรระบบความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวก รรมคอมพิวเตอร์ (ปรับปรุง พ.ศ. 2564)
▪︎ วิศวกรรมขนส่งทางราง
▪︎ เป็นหลักสูตรที่เปิดเป็นที่แรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พศ. 2556 ได้มีการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมขนส่งทางรางออกไปแล้วสามรุ่น และได้ไปทำงานในอุตสาหกรรมขนส่งทางรางอย่างกว้างขวาง อีกทั้งบัณฑิตที่จบจากที่นี้ยังสามารถขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล(กว.เครื่องกล) นอกจากนี้หลักสูตรที่นี้ยังได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับ บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซีฟ่าง ชิงเต่า จำกัด ในการถ่ายโอนเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้กับนักศึกษา ดังนั้นทางหลักสูตรจึงมั่นใจได้ว่านักศึกษาจะสามารถได้เรียนรู้เทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
▪︎ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส
▪︎ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)
▪︎ กรมการขนส่งทางราง
▪︎ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
▪︎ บริษัท รับเหมาก่อสร้าง งานระบบรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน
▪︎ บริษัท ที่ปรึกษา ทางวิศวกรรม
▪︎ บริษัท ผลิตชิ้นส่วน ป้อนงานระบบขนส่งทางราง
▪︎ บริษัท ซีเมนต์(ประเทศไทย) จำกัด
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรม ขนส่งทางราง (ปรับปรุง พ.ศ. 2566)
▪︎ วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
▪︎ หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ เป็นเสมือนฟันเฟืองที่เชื่อมองค์ประกอบของโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ทั้งศึกษาที่เรียนในหลักสูตรนี้จะได้ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศโดยอาศัยความรู้พื้นฐาน ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน ด้านฮาร์ดแวร์ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและสมาร์ทเซ็นเซอร์ รวมถึงเชื่อมโยงส่อสารเข้าหากันด้วย การศึกษาด้านการสื่อสารและเครือข่าย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล โดยผสมผสานความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้เข้ากับกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อออกแบบสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และส่งเสริมให้นักศึกศึกษาต่อยอดนวัตกรรมของตนเองเพื่อผลิตใช้หรือทำเป็นสตาร์ทอัพเพื่อสร้างธุรกิจของตนเองได้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรระบบไอโอที (IoT Engineer)
▪︎ วิศวกรระบบสารสนเทศ (Information System Engineer)
▪︎ วิศวกรระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System Engineer)
▪︎ วิศวกรซอฟต์แวร์ระบบสมองกลฝังตัว
▪︎ นักพัฒนาแอพพลิเคชัน (Application Developer)
▪︎ โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
▪︎ วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
▪︎ Front End Developer, Back End Developer
▪︎ นักพัฒนาฟูลสแต็ก (Full Stack Developer)
▪︎ วิศวกรระบบคลาว์ (Cloud Engineer) วิศวกรระบบเครือข่าย
▪︎ นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
▪︎ วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิ ศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (ปรับปรุง พ.ศ. 2565)
▪︎ วิศวกรรมเคมี
▪︎ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ผลิตวิศวกรเคมีเพื่อออกไปทำงานออกแบบ ควบคุม พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อให้กระบวนการผลิตมีความปลอดภัย และมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถผลิตได้ในตามความต้องการของผู้บริโภค
▪︎ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ในห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ และ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเยี่ยมชมโรงงาน และการฝึกงาน
มีแผนการศึกษาทางเลือก ได้แก่ โครงงานพิเศษ สหกิจศึกษา และ oversea training
▪︎ มีกลุ่มวิชาเลือกที่หลากหลาย ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วัสดุศาสตร์ พลังงาน การจัดการอุตสาหกรรม และ กระบวนการและการควบคุม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรกระบวนการ วิศวกรโครงการ
▪︎ วิศวกรความปลอดภัยกระบวนการ
▪︎ วิศวกรเทคโนโลยี วิศวกรประกันคุณภาพ
▪︎ วิศวกรวิจัยและพัฒนา
▪︎ วิศวกรจัดซื้อ เจ้าหน้าที่จัดซื้อวัตุุดิบ
▪︎ เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต วิศวกรฝ่ายขายและบริการเทคนิค
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมเ คมี (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)
▪︎ วิศวกรรมอาหาร
▪︎ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการระบบการผลิตอาหารอาหารทั้งระบบ ในมุมมองของการผลิตอาหารขนาดใหญ่ ให้เข้าใจว่าในโรงงานอาหารมีอะไรบ้างและแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร ตั้งแต่ความรู้ด้านการออกแบบโรงงาน ความรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวกับผลิตอาหาร การเลือกใช้หรือกำหนดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม และความรู้เกี่ยวกับระบบสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในโรงงาน เช่น ไฟฟ้า การวัดและควบคุม ระบบอัตโนมัติ ระบบน้ำใช้ และระบบน้ำเสีย รวมไปถึงเศรษฐศาสตร์และระบบการเงินที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ นักศึกษาที่ต้องการต่อยอดกิจการที่บ้าน จากการผลิตในครัวเรือนหรือโรงงานขนาดเล็ก ให้เป็นระบบการผลิตที่ใหญ่ขึ้นและเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ต่าง หรือนักศึกษาที่ต้องการสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นของตนเองและอยากเข้าใจระบบการผลิตขนาดใหญ่ในมุมมองของวิศวกร โดยที่นี่มีบุคลากรและทุนวิจัยที่พร้อมสนับสนุนนักศึกษาอย่างเต็มที่
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ ผู้ประกอบการ สร้างผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง
▪︎ วิศวกรอาหาร วิศกรโรงงานอาหาร
▪︎ วิศวกรในโรงงานที่สร้างระบบการผลิตอาหาร
▪︎ วิศวกรฝ่ายขายเชิงเทคนิคของระบบ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรม อาหาร (ปรับปรุง พ.ศ. 2564)
▪︎ วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ
▪︎ หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ เป็นหลักสูตรที่ผลิตวิศวกร นักนวัตกร นักประดิษฐ์ ตลอดจนเจ้าของกิจการที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในระบบอุตสาหกรรมการผลิตทางการเกษตร บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะจะเป็นผู้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย เช่น เทคโนโลยีเครื่องจักรกล เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Sciences and Artificial Intelligence) เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สามารถประยุกต์องค์ความรู้เหล่านี้เพื่อคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมสำหรับระบบอุตสาหกรรมการเกษตรตั้งแต่แปลงเพาะปลูกไปจนถึงมือผู้บริโภค อาทิเช่น โรงเรือนเพื่อการผลิตพืช (Greenhouse) หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ระบบเกษตรแม่นยำ (Precision agriculture) อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลเกษตร การควบคุมคุณภาพผลิตผล ตลอดจนการจัดการเกษตรเชิงพาณิชย์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
▪︎ วิศวกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรรวมถึงอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเกษตรในทุกองค์กร
▪︎ วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง ในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และโรงงานประเภทอื่น ๆ
▪︎ วิศวกรที่ปรึกษาออกแบบระบบจัดการด้านการเกษตร
▪︎ วิศวกรฝ่ายขาย เครื่องมือ เครื่องจักรด้านการเกษตร
▪︎ นักพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานด้านเกษตรอัจฉริยะ
▪︎ อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนและหน่วยงานอิสระ
▪︎ นักการขาย เจ้าของธุรกิจ และอาชีพอิสระอื่น ๆ
รายละเอียดอื่น ๆ
▪︎ รายละเอียดเล่มหลักสูตร วศ.บ.วิศวก รรมเกษตรอัจฉริยะ (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)
▪︎ วิศวกรรมการผลิตเชิงบูรณาการ
หลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง
▪︎ วิศวกรรมการวัดคุม
▪︎ วิศวกรรมโยธา
▪︎ วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมเกษตร
▪︎ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
▪︎ วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
International Programs
Dual Degree / Double Degree
Work Integrated Learning (WIL)
WORK INTEGRATED LEARNING (WIL)
▪︎ WiL หรือ Work integrated learning เป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนภาคทฤษฏีพื้นฐานวิศวกรรมร่วมกับการเรียนจากประสบการณ์การทำงานจริงเฉพาะทางวิชาชีพนอกห้องเรียนจากภาคอุตสาหกรรมจริง หรือเรียกว่าเป็นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ช่วยให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานวิศวกรรมร่วมกับการทำงานจริงเพื่อเพิ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ มีความพร้อมในการทำงานก่อนสำเร็จการศึกษา และมีโอกาสทำงานในอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ
หลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการ WIL
INTEGRATED PRODUCTION ENGINEERING
หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต เชิงบูรณาการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ROBOTICS AND AI ENGINEERING
Robotics and AI Engineering ภาควิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
IOT AND INFORMATION ENGINEERING
หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอที และสารสนเทศ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
AGRO-INDUSTRY SYSTEM ENGINEERING
หลักสูตรวิศวกรรมระบบ อุตสาหกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง) ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
ติดต่อสอบถาม
สำหรับสถานประกอบการที่สนใจหรือประสงค์เข้าร่วมโครงการ WIL
▪︎ เบอร์โท : +662-329-8301 ต่อ
▪︎ Email : thanavit.an@kmitl.ac.th
▪︎ สถานที่ : ศูนย์พัฒนศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
Download เอกสาร
▪︎ สำหรับสถานประกอบการ
▪︎ สำหรับอาจารย์ผู้สอน
▪︎ สำหรับหลักสูตร/ภาควิชา
Joint Degree Program
Philosophy
▪︎ The program aims to provide an education that produces well-rounded individuals, proficient in both theoretical and practical aspects of artificial intelligence. Graduates will be able to apply their knowledge appropriately and contribute to research and innovation in society and the industrial sector. They will possess analytical and systematic thinking skills, continuously seek knowledge, and demonstrate diligence and patience in their work. Furthermore, graduates will uphold high standards of morality and ethics.
“We nurture a new generation of AI engineers who not only innovate but also embody the spirit of entrepreneurship.”